ปลาตะเพียนขาว หรือ
ปลาตะเพียนเงิน (
อังกฤษ:
Java barb, Silver barb;
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Barbonymus gonionotus) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า
ปลาตะเพียน เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ใน
วงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย
Cyprininae มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน
ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก"
ปลาตะเพียนชนิดนี้นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลา
ตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น
มาเลเซีย,
บอร์เนียว,
อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36
เซนติเมตร พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้น
แม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็น
ปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้